หัวข้อ   “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds)”
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ 50.7% ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่ง
แห่งชาติ” ในเวลานี้ ระบุเศรษฐกิจโลกผันผวนเสี่ยงขาดทุน บวกกับระบบการเมือง
และระบบราชการไทยมีปัญหา-ผลประโยชน์ทับซ้อน และการทุจริตคอร์รับชัน
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 เพื่อเป็นเสียงสะท้อนหนึ่งในการรับฟังเสียงรอบด้านให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การคลังในเรื่อง “
การจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ”   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงาน
ด้านการวิเคราะห์  วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 29 แห่ง จำนวน 67 คน  โดยเก็บ
ข้อมูลระหว่างวันที่ 6 - 9 ก.ย. ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.2 ไม่เห็นด้วยกับการบริหาร
จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ
ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในปัจจุบันที่เน้น
การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ   ถึงกระนั้นก็ตาม เมื่อสอบถามความเห็นที่มีต่อการจัดตั้ง
“กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” เพื่อนำไปลงทุนในแหล่งพลังงาน
  เช่น บ่อน้ำมันใน
ต่างประเทศ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 53.7 ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน   แต่เมื่อ
ถามว่าหากมี การจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” เพื่อนำไปลงทุนในโครงสร้าง
พื้นฐาน (Infrastructure) ภายในประเทศ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50.8 เห็นด้วย
กับแนวคิดดังกล่าว
 
                 สำหรับความเห็นต่อเศรษฐกิจไทยรวมถึงเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ว่าเหมาะสมหรือไม่กับการจัดตั้ง “กองทุน
ความมั่งคั่งแห่งชาติ” ร้อยละ 43.3 ตอบว่าไม่เหมาะสม   ขณะที่ร้อยละ 32.8 ตอบว่าเหมาะสม
 
                 ด้านความเห็นเกี่ยวกับความพร้อมของระบบราชการ/การบริหารงานของภาครัฐ/รวมถึงข้าราชการประจำและ
ข้าราชการการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน ต่อการจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ”   ร้อยละ 68.7 ตอบว่ายังไม่มี
ความพร้อม   มีเพียงร้อยละ 13.4 ที่ตอบว่ามีความพร้อม   เมื่อถามต่อถึงความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
หรือเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ร้อยละ 44.8 ตอบว่ามีความพร้อม   ขณะที่ร้อยละ 37.3
ตอบว่าไม่มีความพร้อม
 
                 สุดท้ายเมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” ในเวลานี้ โดยใช้
ทุนสำรองระหว่างประเทศ ในส่วนที่ไม่ใช่เงินของคลังหลวง-เงินหนุนพันธบัตร-ทองคำหลวงตามหาบัว   นักเศรษฐศาสตร์
ร้อยละ 50.7 ตอบว่าไม่เห็นด้วย
  โดยให้เหตุผลว่า (1) ภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีความผันผวนสูง ทำให้เสี่ยงต่อ
การขาดทุน (2) ระบบการเมืองและระบบราชการไทยในปัจจุบันยังไม่เอื้อต่อการจัดตั้งกองทุน อีกทั้งยังสุ่มเสี่ยงต่อปัญหา
ผลประโยชน์ทับซ้อน และการทุจริตคอร์รับชัน   ขณะที่ร้อยละ 22.4 ตอบว่าเห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า  (1) ควรนำเงินทุน
สำรองส่วนเกินมาบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากขึ้น (2) การลงทุนอาจอยู่ในรูปของการลงทุนเพื่อ
สร้างความมั่นคงและลดความเสี่ยงด้านพลังงานหรือน้ำมัน หรืออาจลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
 
                 นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ ยังได้เสนอแนะประเด็นและข้อคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการจัดตั้ง  “กองทุน
ความมั่งคั่งแห่งชาติ” ดังนี้

                 (1) เสนอให้ตั้งคณะทำงานที่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองที่มาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการศึกษา
                      ในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเรื่อง ความจำเป็นในการจัดตั้งกองทุน แหล่งที่มาของเงินลงทุน
                      ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน กรอบในการลงทุน ผลตอบแทน และความเสี่ยง เป็นต้น
                 (2) เงื่อนไขที่สำคัญในการจัดตั้งกองทุน คือ ความพร้อมของฝ่ายการเมืองที่ต้องไม่มีคอร์รับชัน ผลประโยชน์
                      ทับซ้อน และต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน อีกทั้งควรมีระบบติดตามตรวจสอบการดำเนิน
                      งาน ความโปร่งใส และมีหลักธรรมาภิบาล
                 (3) แหล่งที่มาของการจัดตั้งกองทุนควรมาจากแหล่งอื่นๆ มากกว่าที่จะมาจากทุนสำรองระหว่างประเทศ
                      เช่น การระดมทุนจากประชาชน เงินกำไรจากรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ความเห็นต่อการบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
                 ในปัจจุบันที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ


 
ร้อยละ
เห็นด้วย
29.9
ไม่เห็นด้วย
52.2
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
17.9
 
 
             2. ความเห็นต่อการจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” เพื่อนำไปลงทุนในแหล่งพลังงาน เช่น
                 บ่อน้ำมัน ในต่างประเทศในขณะนี้

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
23.9
ไม่เห็นด้วย
53.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
22.4
 
 
             3. ความเห็นต่อการจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” เพื่อนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
                 (Infrastructure) ภายในประเทศในขณะนี้

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
50.8
ไม่เห็นด้วย
38.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
10.4
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็น เศรษฐกิจไทยรวมถึงเศรษฐกิจโลกในเวลานี้เหมาะสมหรือไม่กับการจัดตั้ง
                 “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ”


 
ร้อยละ
เหมาะสม
32.8
ไม่เหมาะสม
43.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
23.9
 
 
             5. ความเห็นต่อ ระบบราชการ/การบริหารงานของภาครัฐ/รวมถึงข้าราชการประจำและข้าราชการ
                 การเมือง (พิจารณาในแง่ระบบหรือองค์รวม) ของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีความพร้อมที่จะ
                 จัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” หรือไม่


 
ร้อยละ
มีความพร้อม
13.4
ยังไม่มีความพร้อม
68.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
17.9
 
 
             6. ความเห็นต่อ ความพร้อมของประเทศไทยในปัจจุบันว่ามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
                 หรือเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ
หรือไม่ (พิจารณาในแง่
                 ศักยภาพเฉพาะบุคคลหรือทีมงานที่เกี่ยวข้อง)

 
ร้อยละ
มีความพร้อม
44.8
ยังไม่มีความพร้อม
37.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
17.9
 
 
             7. ความเห็นต่อ การจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” ในเวลานี้ โดยใช้ทุนสำรองระหว่าง
                 ประเทศ ในส่วนที่ไม่ใช่เงินของคลังหลวง-เงินหนุนพันธบัตร-ทองคำหลวงตามหาบัว


 
ร้อยละ
เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า (ข้อคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
     (1) ควรนำเงินเงินทุนสำรองส่วนเกินมาบริหารจัดการให้มี
          ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากขึ้น
     (2) การลงทุนอาจอยู่ในรูปของการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคง
          และลดความเสี่ยงด้านพลังงานหรือน้ำมัน หรืออาจลงทุน
          ในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
     (3) การลงทุนดังกล่าวต้องไม่ใช้เงินของคลังหลวง-เงินหนุน
          พันธบัตร-ทองคำหลวงตามหาบัว ทั้งนี้ก็เพื่อความมั่นคง
          ทางเศรษฐกิจของประเทศ
22.4
ไม่เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า (ข้อคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
     (1) ภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีความผันผวนสูง และมีโอกาส
          ที่จะเกิดวิกฤติขึ้นอีกครั้ง เสี่ยงต่อการขาดทุนและอาจนำไปสู่
          วิกฤติเศรษฐกิจไทยอีกครั้ง ดังนั้น ประเทศไทยควรเน้นรักษา
          สภาพคล่องไว้ใช้ในยามฉุกเฉินมากกว่านำมาลงทุน
     (2) ระบบการเมืองและระบบราชการไทยในปัจจุบันยังไม่เอื้อต่อ
          การจัดตั้งกองทุน อีกทั้งยังสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาผลประโยชน์
          ทับซ้อน และการทุจริตคอร์รับชัน
     (3) ทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นสินทรัพย์ที่มีเจ้าของหรือเจ้าหน
ี้          (นักลงทุนต่างชาติ) และเมื่อหักเงินจำนวนนี้ ทุนสำรองที่เป็น
          ของคนไทยเองก็ไม่ได้มีมากมายที่เพียงพอที่จะนำไปลงทุน
          อย่างคุ้มค่า

50.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
26.9
 
 
             8. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” ไม่ว่าจะเป็นในแง่
                 ของความจำเป็นเงื่อนไข และความพร้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                 (ข้อคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
(1) เสนอให้ตั้งคณะทำงานที่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองที่มาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
     เพื่อทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเรื่อง ความจำเป็นในการจัดตั้ง
     กองทุนแหล่งที่มาของเงินลงทุน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน กรอบในการลงทุน
     ผลตอบแทน และความเสี่ยง เป็นต้น
(2) เงื่อนไขที่สำคัญในการจัดตั้งกองทุน คือ ความพร้อมของฝ่ายการเมืองที่ต้องไม่มี
     คอร์รับชัน ผลประโยชน์ทับซ้อน และต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน
     อีกทั้งควรมีระบบติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ความโปร่งใส และมีหลักธรรมาภิบาล
(3) แหล่งที่มาของการจัดตั้งกองทุนควรมาจากแหล่งอื่นๆ มากกว่าที่จะมาจากทุนสำรอง
     ระหว่างประเทศ เช่น การระดมทุนจากประชาชน เงินกำไรจากรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
                      โดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิด
                      ประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 29 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
               ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารไทยพาณิชย์   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารนครหลวงไทย
               ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส
               บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า   บริษัทหลักทรัพย์
               ฟินันเซียไซรัส   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
               สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
               คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
               และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 6 - 9 กันยายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 กันยายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
27
40.3
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
35.8
             สถาบันการศึกษา
16
23.9
รวม
67
100.0
เพศ:    
             ชาย
31
46.3
             หญิง
36
53.7
รวม
67
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
29
43.2
             36 – 45 ปี
19
28.4
             46 ปีขึ้นไป
19
28.4
รวม
67
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.5
             ปริญญาโท
53
79.1
             ปริญญาเอก
11
16.4
รวม
67
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
16
23.9
             6 - 10 ปี
22
32.8
             11 - 15 ปี
9
13.4
             16 - 20 ปี
4
6.0
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
16
23.9
รวม
67
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776